ใบงานที่
5
ภาษาคอมพิวเตอร์
1 )
ความหมายของภาษาคอมพิวเตอร์
ตอบ
มนุษย์
ใช้ภาษาในการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ
การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ
เพื่อการโต้ตอบและสื่อความหมาย ภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ต่างเรียกว่า “ภาษาธรรมชาติ” (Natural
Language) เพราะมีการศึกษา ได้ยิน ได้ฟัง
กันมาตั้งแต่เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์
ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทำงานตามที่ต้องการ
จำเป็นต้องมีการกำหนดภาษา สำหรับใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็น ”ภาษาประดิษฐ์” (Artificial Language) ที่มนุษย์คิดสร้างมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ
มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและจำกัด
คืออยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่กำหนดและมีการตีความหมายที่ชัดเจน
จึงจัดภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่มีรูปแบบเป็นทางการ (Formal Language) ต่างกับภาษาธรรมชาติที่มีขอบเขตกว้างมาก ไม่มีรูปแบบตายตัวที่แน่นอน
กฎเกณฑ์ของภาษาจะขึ้นกับหลักไวยากรณ์และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้นั้น ๆ
2 ) ภาษาคอมพิวเตอร์ มีกี่ระดับ
อะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ
ภาษา คอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาระดับต่ำ
(Low Level Language) และภาษาระดับสูง (High Level
Language)
1 ภาษาเครื่อง (Machine
Language)
การ
เขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในยุคแรก ๆ
จะต้องเขียนด้วยภาษาซึ่งเป็นที่ยอมรับของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า
“ภาษาเครื่อง” ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน
ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้
ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ
ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด
ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก
นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออก
ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียน
โปรแกรมใหม่ทั้งหมด
2 ภาษาระดับต่ำ (Low Level
Language)
เนื่อง
จากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียนดังได้กล่าวมาแล้ว
จึงไม่มีผู้นิยมและมีการใช้น้อย ดังนั้นได้มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง
โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน
การใช้และการตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่าง ๆ
ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ การใช้สัญลักษณ์ช่วยให้การเขียนโปรแกรมนี้เรียกว่า
“ภาษาระดับต่ำ”ภาษาระดับต่าเป็นภาษาที่มีความหมายใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง
มากบางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า
“ภาษาอิงเครื่อง” (Machine – Oriented Language) ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำ ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี
เป็นภาษาที่ใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน เช่น ADD หมายถึง บวก SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น
การใช้คำเหล่านี้ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าการใช้ภาษาเครื่องซึ่ง
เป็นตัวเลขล้วน
ดังตารางแสดงตัวอย่างของภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่องที่สั่งให้มีการบวกจำนวน
ที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ
ตารางที่ 5.1
แสดงความสัมพันธ์ของคำสั่งในภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่อง
ภาษาระดับต่ำ ภาษาเครื่อง รหัสเลขฐานสิบหก
MOV AL,05 10110000
00000101 B0 05
MOV BL,08 10110011
00001000 B3 08
ADD AL,BL 00000000
11011000 00 D8
MOV CL,AL 10001000
11000001 88 C1
3 ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ภาษา
ระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม
กล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ
ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที
ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอ
สเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN)
ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal)
ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual
Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปล
ภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง
โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง
คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่ง
ภาษาระดับสูงที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่
3.1) ภาษาฟอร์แทรน (FORmula
TRANstation : FORTRAN)
จัด
เป็นภาษาระดับสูงที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรก ราว พ.ศ. 2497
โดยบริษัท ไอบีเอ็ม เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการคำนวณ
เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และงานวิจัยต่าง ๆ
3.2) ภาษาโคบอล (Common Business Oriented Language : COBOL)
เป็น
ภาษาที่พัฒนาขึ้นในราว พ.ศ. 2502
ต่อมาได้รับการปรับปรุงจากคณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานธุรกิจและ
รัฐบาลของสหรัฐอเมริกา เป็นภาษาโคบอลมาตรฐานในปี พ.ศ. 2517
เป็นภาษาที่เหมาะสมสำหรับงานด้านธุรกิจ
เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากมีโปรแกรมแปลภาษาโคบอล
3.3) ภาษาเบสิก (Beginner’s All – purpose Symbolic Instruction Code :
BASIC)
เป็น
ภาษาที่ได้รับการคิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยดาร์ทมัธ (Dartmouth
College) และเผยแพร่เป็นทางการในปี พ.ศ. 2508ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สอนเพื่อใช้สอน
เขียนโปรแกรมแทนภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาอื่น เช่น ภาษาฟอร์แทรน
ซึ่งมีขนาดใหญ่และต้องใช้หน่วยความจำสูงในการทำงาน
ซึ่งไม่เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่มีขนาดเล็ก
เป็นตัวแปลภาษาชนิดที่เรียกว่าอินเทอร์พรีเตอร์
3.4)
ภาษาปาสคาล (Pascal)
ตั้ง
ชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ เบลส ปาสคาล (Blaise
Pascal) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขโดยใช้เฟืองหมุน
ภาษาปาสคาลคิดขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยนิคลอส เวียซ (Niklaus
Wirth) ศาสตราจารย์วิชาคอมพิวเตอร์ชาวสวิต
ภาษาปาสคาลได้รับการออกแบบให้ใช้ง่ายและมีโครงสร้างที่ดี
จึงเหมาะกับการใช้สอนหลักการเขียนโปรแกรม
ปัจจุบันภาษาปาสคาลยังคงได้รับความนิยมใช้ในการเรียนเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์
3.5) ภาษาซีและซีพลัสพลัส (C และ C++)
ภาษา
ซีเป็นภาษาที่พัฒนาจากห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัทเอทีแอนด์ทีในปี พ.ศ. 2515
หลังจากที่พัฒนาขึ้นได้ไม่นาน
ภาษาซีก็กลายเป็นภาษาที่นิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมมาก
และมีใช้งานในเครื่องทุกระดับ
ทั้งนี้เนื่องจากภาษาซีได้รวมเอาข้อมูลของภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำเข้า
ไว้ด้วยกัน กล่าวคือเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย
3.6) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic)
เป็น
ภาษาที่พัฒนาต่อมาจากภาษาเบสิก
ใช้ไวยากรณ์บางส่วนของภาษาเบสิกในการเขียนโปรแกรม
แต่มีแนวคิดและวิธีการพัฒนาโปรแกรมที่แตกต่างจากภาษาเบสิกโดยสิ้นเชิง
รวมทั้งการใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำก็แตกต่างกันมาก
ทั้งนี้เนื่องจากภาษาวิชวลเบสิกใช้แนวคิดที่ต่างออกไป
3.7) การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ (Visual Programming)
ภาษา
นี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ออกแบบเพื่อเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้
บนระบบปฏิบัติการแบบจียูไอ เช่น ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์
มีการติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้รูปภาพ
การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายกว่าการเขียนโปรแกรมแบบเก่ามาก
3.8) ภาษาจาวา (Java)
พัฒนา ขึ้นในปี พ.ศ. 2534
โดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมสูงมาโดยตลอด
เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทและระบบ
ปฏิบัติการทุกรูปแบบ
ในช่วงแรกที่เริ่มมีการนำภาษาจาวามาใช้งานจะเป็นการใช้งานบนเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต
เป็นภาษาที่เน้นการทำงานบนเว็บ
แต่ปัจจุบันสามารถสามารถนำมาประยุกต์สร้างโปรแกรมใช้งานทั่วไปได้
3.9) ภาษาเดลฟาย (Delphi)
เป็น
ภาษาที่ได้รับความนิยมภาษาหนึ่ง
แนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาเดลฟายเหมือนกับแนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาวิ
ชวลเบสิก คือเป็นการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพ
แต่ภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะเป็นภาษาปาสคาล ในการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพนี้มีคอมโพเนนต์ (Component)
ที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เป็นแบบกราฟิก
แหล่งอ้างอิงข้อมูล : https://sites.google.com/site/programcomputer56/home/phasa-khxmphiwtexr
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น