วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เว็บบล็อกงานกลุ่ม เรื่อง อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์

https://icemydetenmus.blogspot.com













สรุปประโยชน์ที่ได้รับจากการทำงานกลุ่ม
1.ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 2.ได้มีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อน 3.ได้มีความสามัคคีกันกับคนในกลุ่ม 4.ได้ออกความคิดเห็นต่างๆในเรื่องที่ได้รับ 5.ได้รู้จักการวางแผนงานและแบ่งงานกันทำ




















วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ตัวอย่าง DSS

กรณีศึกษา ระบบสารสนเทศ

เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) บริษัท ค็อกพิท
DSS (Decision Support System)
-เป็นระบบสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริหาร ในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลทางสถิติต่างๆ หรือการแสดงในรูปแบบกราฟเปรียบเทียบ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
- ระบบที่สามารถให้ทางเลือกโดยอาศัยข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
- นำข้อมูลจาก TPS MIS  มาใช้งานภายในระบบ
- นำสารสนเทศจากภายนอกเข้าสู่ระบบ เช่น การนำข้อมูลราคาหุ้นของตลาดหุ้นมาประกอบการพิจารณา หรือการนำราคาผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งมาประกอบการพิจารณา เป็นต้น
- เป็นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง หรือไม่มีโครงสร้าง
หน้าที่หลักในการประมวลผลข้อมูล
- การสร้างแบบจำลอง เช่น การพยากรณ์ยอดขาย
- การวิเคราะห์แบบ What-If Analysis เช่น การวิเคราะห์วิธีนี้เป็นกึ่งมีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง
- การวิเคราะห์แบบ Goal Seeking เป็นกระบวนการที่ผู้ตัดสินใจกำหนดผลลัพธ์
- การวิเคราะห์แบบ Risk Analysis เป็นการวิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ
- การวิเคราะห์แบบ Graphical Analysis คือการวิเคราะห์และแสดงผลลัพธ์
ประเภทของ DSS 
 จำแนก DSS ออกตามคณสมบัติของแต่ละระบบออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. DSS แบบใหความสำคัญกับข้อมูล (Data-Oriented DSS) เป็น DSS ทำให้
ความสำคัญกับเครืองมือในการจัดการและการวเคราะห้ข้อมูล การทดสอบทางสถิติ ตลอดจนการจัดข้อมูลในลักษณะต่างๆ เพื่อให้ผู็ใช็ทำความเข้าใจสารสนเทศ และสามารถตัดสินใจอย่างมีประสทธิภาพ
2. DSS แบบใหความสำคัญกับแบบจำลอง (Model-Based DSS) เป็น DSS ทำให้
ความสำคัญกบแบบจำลองการประมวลปัญหา โดยเฉพาะแบบจำลอง พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
(Mathematical Model) และแบบจำลองการวิจัยขั้นดำเนินงาน (Operation Research Model) ซึ่ง
ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหา และปรับตัวแปรที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาเลือกทางเลือกที่
เหมาะสมทที่สุด
การพัฒนา DSS
การพัฒนา DSS จะมีความแตกตางจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
โดยทั่วไป เนื่องจาก DSS ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับผู้ใชเฉพาะกลู่ม โดย DSS จะต้องการ
ข้อมูลในประมาณที่เหมาะสมและตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งมีประมาณน้อยแต่เจาะจงกว่าระบบ
สารสนเทศเพื่อการจัดการ แต่ DSS ต้องอาศัยแบบจำลองการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งสลับซับซ้อนกว่า
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาก นอกจาก DSS โดยส่วนมากจะถูกออกแบบมาอย่าง
เฉพาะเจาะจงเพื่อใชในการสนับสนุนและการแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง ซึ่งต้องการความยืดหยุ่นในการ
ปรับตัวให้เขากับสถานการณ์ทที่เหมาะสม ดงนั้นการพัฒนา DSS จึงจำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้มีส่วนร่วม
ในการพัฒนา ด้วย ซึ่งเราจะกล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาระบบ DSS ดังต่อไปนี้
1. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
2. การออกแบบระบบ (System Design) DSS
3. การนำไปใช้ (Implementation) DSS


ตัวอย่างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) บริษัท ค็อกพิท
บริษัท ค็อกพิท มีระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการออกแบบยางรถยนต์ยี่ห้อใหม่
-   ระบบช่วยให้นักวิเคราะห์มองเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผล ทางด้านการเงินในอดีตกับตัวแปรภายนอก เช่น จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแล้วนำมาสร้างโมเดลในการพยากรณ์การขายด้วยโมเดลต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ
-   สามารถสร้างฐานข้อมูลที่บรรจุยางของคู่แข่งทั้งหมด 200 ยี่ห้อ รวมทั้งข้อมูลในการผลิต แรงกด ปริมาณ และประมาณการขาย
-   ผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลนี้สำหรับการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน
-   ระบบช่วยให้องค์การสามารถนำเอาประเด็นด้านเทคโนโลยีมาผนวกกับ ด้านการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และช่วยสนับสนุนให้มีการตัดสินใจร่วมกันของหน่วยงานตามหน้าที่ต่างๆ ในองค์การ


ที่มา:http://krittiya04.wordpress.com/2013/07/13/dss/







การใช้ Browser

ใบงานเรื่อง การใช้เว็บบราวเซอร์

1.เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) หมายถึงอะไร 

ตอบ       คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ


2. ยกตัวอย่างเว็บบราวเซอร์มา 5 โปรแกรม...

1.Firefox
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



2.Google Chrome
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ chrome

3.Internet Explorer
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ internet explorer browser

4.Safari
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ safari browser

5.Crazy Browser
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ crazy browser



3.เว็บบราวเซอร์ที่สนใจ 1 โปรแกรม

ชื่อ Google Chrome

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ chrome browser

Google Chrome คือ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) ที่ใช้สำหรับเปิดเว็บไซต์โดยมี Google เป็นผู้พัฒนา ปัจจุบันเป็นที่นิยมของผู้ใช้งาน Internet เป็นอย่างมากเพราะมีความปลอดภัยสูง มีโปรแกรมเสริมมากมาย โดยโปรแกรมเสริมเหล่านี้มีทั้งแบบ Download มาใช้งานได้ฟรี และแบบมีค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังสามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่ Google พัฒนาขึ้นได้อย่างหลากหลาย การเปิดหน้าเว็บเพจทำได้อย่างรวดเร็ว Google Chrome จึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว  Google Chrome ยังมีการ Update อย่างสม่ำเสมอทำให้มีข้อบอกพร่องน้อยมาก ภาพด้านล่างเป็นภาพรวมของ Google Chrome ซึ่งจะเห็นว่ามีไอค่อนแสดงอยู่ 3 ไอค่อน ประกอบด้วย Store Docs  Google Drive หากคุณเคยสมัคร และมี Gmail Account อยู่แล้วสามารถเข้าสู่ระบบและใช้งานบริการต่าง ๆ ได้อย่างทันที










Course Outline วิชาคอมพิวเตอร์ ง33201

http://www.acr.ac.th/acr/CourseOutline/M61/pdf/M6/computer(T)6.pdf

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ใบงานเรื่อง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์


พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ที่กำลังจะพูดถึงนี้คืออะไร
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ค่ะ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้
ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้
เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกันค่ะ หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้

8 เรื่องที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์


     1.      เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)
      หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต (ละเมิด Privacy)            หรือในเคสที่เรารู้จักกันดีก็คือ การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง          หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ค่ะ

บทลงโทษ
        เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2         หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)
     ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิ       ชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น กรณี       ของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบเว็บไซต์      ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิดค่ะ
    บทลงโทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    3.     ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)
ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่น แล้วส่งอีเมลขายของตัวเองค่ะ

บทลงโทษ
ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)
โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย

บทลงโทษ
กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท


5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)
กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 12 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย

6. นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14)
ในความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ

โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง (อย่างเช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริงๆ เป็นต้น)
โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย
โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย
โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้
เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด (อย่างเช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็มีความผิดค่ะ )

บทลงโทษ
หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)

7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)
กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิด แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นความผิด

บทลงโทษ

แต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ

8. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา 16)
ความผิดข้อนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ

• การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อย่างเช่นกรณีที่เอาภาพดาราไปตัดต่อ และตกแต่งเรื่องขึ้นมา จนทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย ก็ถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ

• การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย

บทลงโทษ

หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

ส่วนใครที่อยากอ่าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ 2 ต่อเพิ่มเติม สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ทางการนี้เลยค่ะ


สรุป
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ 2 ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต ก็ควรจะรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ไว้ค่ะ เพราะเราจะได้ไม่เผลอไปทำความผิด อย่างน้อยๆ ต้องระวัง 8 ประเด็นที่เราได้เขียนเอาไว้เลยค่ะ อีกทั้งการมีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นการควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง และในทางหนึ่งก็ช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้งานด้วย



*อ้างอิง https://contentshifu.com/computer-law/





















วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สรุปขั้นตอนการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์


สรุปขั้นตอนการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์💻

มีกี่ขั้นตอน มีอะไรบ้าง🏁

Image result for คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ
1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ👍
โดยทั่วไปเรื่องที่จะมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักได้จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์

Related image
2. ศึกษาค้นคว้าและวางแผน✌️ การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษา จนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้

       
3. จัดทำข้อเสนอโครงงานที่จะทำ👇
Image result for คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ ดังนี้  3.1  ศึกษาค้นคว้าเอกสารอ้างอิงและรวบรวมข้อมูลที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิ
3.2  วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดขอบเขตและลักษณะของโครงการที่จะพัฒนา
3.3  ออกแบบการพัฒนา มีการกำหนดลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และตัวแปลภาษา โปรแกรม และวัสดุต่าง ๆ ที่ต้องใช้
3.4  กำหนดตารางการปฏิบัติงานของการจัดทำเค้าโครงของโครงงาน ลงมือทำโครงงานและสรุปรายงานโครงงาน โดยกำหนดช่วงเวลาอย่างกว้าง ๆ
3.5  ทำการพัฒนาโครงงานขั้นต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น โดยอาจจะทำการพัฒนาส่วนย่อย ๆ บางส่วนตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว นำผลจากการศึกษาในช่วงนี้ไปปรับปรุงแผนการทดลองที่ออกแบบไว้ในครั้งแรกให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
3.6  เสนอเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์ต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การวางแผนและดำเนินการทำโครงงานเป็นไปอย่างเหมาะสมเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด

4. การลงมือทำโครงงาน🤘 เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว  ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ เช่น จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม รวมทั้งการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่มให้ชัดเจน แล้วจึงดำเนินการทำโครงงาน ขณะเดียวกันต้องมีการทดสอบ ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาโครงงานเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้น ทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย และเกิดประสิทธิภาพตามขั้นตอน
Related image5. เขียนรายงานและจัดทำคู่มือการใช้✋การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา และส่วนสุดท้ายเป็นคู่มือการใช้งานโครงงาน
·       บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสารเอกสารและ /หรือเว็บไซต์ ที่ผู้จัดทำโครงงานใช้ศึกษา ค้นคว้ารายละเอียด ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงาน ทั้งนี้เขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย

·       คู่มือการใช้งาน เป็นคู่มืออธิบายวิธีการใช้งานผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผลงาน คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะใช้กับผลงานนั้นได้ (ถ้ามี) รายละเอียดของคอมพิวเตอร์  ต้องมีรายชื่อซอฟต์แวร์   ผลงานนั้นทำหน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลเข้า และส่งอะไรออกมาเป็นข้อมูลออก วิธีการใช้งาน ควรอธิบายขั้นตอนตามลำดับการทำงาน ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ข้อแนะนำการใช้งาน สามารถแยกออกจากรายงานหรือใส่ใว้ในภาคผนวกของรายงานก็ได้ แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้จัดทำ

  
         6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน👐 โดยทั่วไปเมื่อโครงงานเสร็จสิ้นแล้ว ต้องมีการนำเสนอโครงงานให้กับผู้ที่ต้องการใช้งานหรือครูที่ปรึกษาโครงงาน ดังนั้นควรเตรียมเอกสารนำเสนอให้สมบูรณ์ โดยอาจปรับย่อข้อความที่สำคัญมาจากการรายงานก็ได้ การนำเสนอในรูปแบบใดนั้นต้องเลือกให้เหมาะสมโดยพิจารณาวัตถุประสงค์ของงานนำเสนอ ชื่อ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ป้ายนิทรรศการ เอกสารรายงาน แผ่นพับ นอกจากนี้ยังต้องวางแผนในการนำเสนอและสาธิตโครงงาน และควรฝึกตอบคำถามที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย

Image result for นำเสนอ























วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ใบงาน เรื่อง บริการต่างๆบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต

             บริการบนอินเทอร์เน็ต เป็นบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ รวมถึงความรู้ โดยอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยีหรือบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต มีดังนี้


1. World Wide Web (WWW) เครือข่ายใยแมงมุม


Image result for บริการบนระบบเครือข่าย internetเป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างข้อมูลในรูปของ Interactive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่าน เข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียง แต่ท่านเลือกกด ที่คำ ที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ นั้น ๆ ท่านก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ต่าง ๆ ทั่วโลก)



2. จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Mail)

จดหมายอิเลคทรอนิกส์หรือที่เรียกกันว่า E-mailเป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้รวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตามนอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก
องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
Image result for บริการบนระบบเครือข่าย internet1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
2. ชื่อโดเมน Username@domain_name

การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ 
1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail


3. Search Engine (บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต)

3Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ ตัวเองโดยอัตโนมัติ เช่น Google.com หรือ Altavista.com ซึ่งเครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Search Robot จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์ ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index) ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อเราเข้าไปใช้บริการ กับ Search Engine


4. Instant Message (บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต )

           Instant Messaging ก็คือการสนทนาทางโทรศัพท์อย่างหนึ่งแต่เป็นในรูปของตัวอักษร พนักงานในบริษัททั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างใช้ IM เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สำหรับคนอีกจำนวนมาก IM คือการสื่อสารสำรองเมื่ออีเมล์มีปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ 

4



5. การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Telnet)
Telnet เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวไดส่วนคำสั่งในการ ทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้

5







6.การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)

การโอนย้ายข้อมูล หรือที่นิยมเรียกกันว่า FTP เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็น freeware sharewareจากแหล่ง ข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Serverของตนทำหน้าที่เป็น FTP site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับให้บริการ FTP ที่นิยมใช้กันมากได้แก่WS_FTP, CuteFTP
6 
การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรี เช่น http://www.download.com
2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander


7. Web board (บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด )

WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
Image result for web board

ที่มา http://www.mcp.ac.th/online/internet/1_2.html
































ใบงานที่ 2 เรื่อง ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)      เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา ...