วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ตัวอย่าง DSS

กรณีศึกษา ระบบสารสนเทศ

เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) บริษัท ค็อกพิท
DSS (Decision Support System)
-เป็นระบบสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริหาร ในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลทางสถิติต่างๆ หรือการแสดงในรูปแบบกราฟเปรียบเทียบ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
- ระบบที่สามารถให้ทางเลือกโดยอาศัยข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
- นำข้อมูลจาก TPS MIS  มาใช้งานภายในระบบ
- นำสารสนเทศจากภายนอกเข้าสู่ระบบ เช่น การนำข้อมูลราคาหุ้นของตลาดหุ้นมาประกอบการพิจารณา หรือการนำราคาผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งมาประกอบการพิจารณา เป็นต้น
- เป็นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง หรือไม่มีโครงสร้าง
หน้าที่หลักในการประมวลผลข้อมูล
- การสร้างแบบจำลอง เช่น การพยากรณ์ยอดขาย
- การวิเคราะห์แบบ What-If Analysis เช่น การวิเคราะห์วิธีนี้เป็นกึ่งมีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง
- การวิเคราะห์แบบ Goal Seeking เป็นกระบวนการที่ผู้ตัดสินใจกำหนดผลลัพธ์
- การวิเคราะห์แบบ Risk Analysis เป็นการวิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ
- การวิเคราะห์แบบ Graphical Analysis คือการวิเคราะห์และแสดงผลลัพธ์
ประเภทของ DSS 
 จำแนก DSS ออกตามคณสมบัติของแต่ละระบบออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. DSS แบบใหความสำคัญกับข้อมูล (Data-Oriented DSS) เป็น DSS ทำให้
ความสำคัญกับเครืองมือในการจัดการและการวเคราะห้ข้อมูล การทดสอบทางสถิติ ตลอดจนการจัดข้อมูลในลักษณะต่างๆ เพื่อให้ผู็ใช็ทำความเข้าใจสารสนเทศ และสามารถตัดสินใจอย่างมีประสทธิภาพ
2. DSS แบบใหความสำคัญกับแบบจำลอง (Model-Based DSS) เป็น DSS ทำให้
ความสำคัญกบแบบจำลองการประมวลปัญหา โดยเฉพาะแบบจำลอง พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
(Mathematical Model) และแบบจำลองการวิจัยขั้นดำเนินงาน (Operation Research Model) ซึ่ง
ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหา และปรับตัวแปรที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาเลือกทางเลือกที่
เหมาะสมทที่สุด
การพัฒนา DSS
การพัฒนา DSS จะมีความแตกตางจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
โดยทั่วไป เนื่องจาก DSS ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับผู้ใชเฉพาะกลู่ม โดย DSS จะต้องการ
ข้อมูลในประมาณที่เหมาะสมและตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งมีประมาณน้อยแต่เจาะจงกว่าระบบ
สารสนเทศเพื่อการจัดการ แต่ DSS ต้องอาศัยแบบจำลองการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งสลับซับซ้อนกว่า
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาก นอกจาก DSS โดยส่วนมากจะถูกออกแบบมาอย่าง
เฉพาะเจาะจงเพื่อใชในการสนับสนุนและการแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง ซึ่งต้องการความยืดหยุ่นในการ
ปรับตัวให้เขากับสถานการณ์ทที่เหมาะสม ดงนั้นการพัฒนา DSS จึงจำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้มีส่วนร่วม
ในการพัฒนา ด้วย ซึ่งเราจะกล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาระบบ DSS ดังต่อไปนี้
1. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
2. การออกแบบระบบ (System Design) DSS
3. การนำไปใช้ (Implementation) DSS


ตัวอย่างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) บริษัท ค็อกพิท
บริษัท ค็อกพิท มีระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการออกแบบยางรถยนต์ยี่ห้อใหม่
-   ระบบช่วยให้นักวิเคราะห์มองเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผล ทางด้านการเงินในอดีตกับตัวแปรภายนอก เช่น จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแล้วนำมาสร้างโมเดลในการพยากรณ์การขายด้วยโมเดลต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ
-   สามารถสร้างฐานข้อมูลที่บรรจุยางของคู่แข่งทั้งหมด 200 ยี่ห้อ รวมทั้งข้อมูลในการผลิต แรงกด ปริมาณ และประมาณการขาย
-   ผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลนี้สำหรับการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน
-   ระบบช่วยให้องค์การสามารถนำเอาประเด็นด้านเทคโนโลยีมาผนวกกับ ด้านการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และช่วยสนับสนุนให้มีการตัดสินใจร่วมกันของหน่วยงานตามหน้าที่ต่างๆ ในองค์การ


ที่มา:http://krittiya04.wordpress.com/2013/07/13/dss/







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ใบงานที่ 2 เรื่อง ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)      เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา ...