สรุปการแก้ปัญหา
ด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1) การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
ในการที่จะแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งได้นั้น
สิ่งแรกที่ต้องทำคือทำความเข้าใจเกี่ยวกับถ้อยคำต่างๆ ในปัญหา
แล้วแยกปัญหาให้ออกว่าอะไรเป็นสิ่งที่ต้องหา แล้วมีอะไรเป็นข้อมูลที่กำหนด
และมีเงื่อนไขใดบ้าง
หลังจากนั้นจึงพิจารณาว่าข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดให้นั้นเพียงพอที่จะหาคำตอบของปัญหาได้หรือไม่
ถ้าไม่เพียงพอ ให้หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนี้
1.1 การระบุข้อมูลเข้า ได้แก่
การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมากับปัญหา
1.2 การระบุข้อมูลออก ได้แก่
การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบหรือผลลัพธ์
1.3 การกำหนดวิธีประมวลผล ได้แก่ การพิจารณาวิธีหาคำตอบ หรือผลลัพธ์
2) การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอน
ขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา
โดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือกับเงื่อนไขต่างๆ
ของปัญหาซึ่งหมายรวมถึงความสามารถของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าว
และสิ่งที่สำคัญคือความคุ้นเคยในการใช้งานเครื่องมือนั้นๆ ของผู้แก้ปัญหา
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหา คือ
ยุทธวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือที่เราเรียกว่าขั้นตอนวิธี (algorithm) ในการแก้ปัญหา
หลังจากที่เราได้เครื่องมือช่วยแก้ปัญหาแล้ว
ผู้แก้ปัญหาต้องวางแผนว่าจะใช้เครื่องมือดังกล่าวอย่างไรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและดีที่สุด
ในการออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาผู้แก้ปัญหาควรใช้แผนภาพหรือเครื่องมือในการแสดงขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ง่ายต่อความ
(3) การดำเนินการแก้ปัญหา
เป็นขั้นตอนแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เลือกไว้
เช่น คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จ หรือการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรม
ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ผู้แก้ปัญหาจึ่งต้องศึกษาให้เข้าใจ
มีความรู้ความสามารถในการเขียนโปรแกรมเป็นอย่างดีละในคณะดำเนินการ
หากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ต้องสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม
(4) การตรวจสอบและการปรับปรุง
เป็นขั้นตอนการตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา
เช่น ข้อมูลรับเข้า ข้อมูลส่งออก หรือไม่
เพื่อให้มั่นได้ว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ในกรณีที่ถูกต้องและสมบูรณ์
ในขณะเดียวกันต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น