สรุปขั้นตอนการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์💻
มีกี่ขั้นตอน มีอะไรบ้าง🏁
1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ👍
โดยทั่วไปเรื่องที่จะมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักได้จากปัญหา คำถาม
หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์
2. ศึกษาค้นคว้าและวางแผน✌️
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ
จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษา
จนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้
3. จัดทำข้อเสนอโครงงานที่จะทำ👇
3.2 วิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อกำหนดขอบเขตและลักษณะของโครงการที่จะพัฒนา
3.3 ออกแบบการพัฒนา
มีการกำหนดลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และตัวแปลภาษา โปรแกรม
และวัสดุต่าง ๆ ที่ต้องใช้
3.4
กำหนดตารางการปฏิบัติงานของการจัดทำเค้าโครงของโครงงาน
ลงมือทำโครงงานและสรุปรายงานโครงงาน โดยกำหนดช่วงเวลาอย่างกว้าง ๆ
3.5
ทำการพัฒนาโครงงานขั้นต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น
โดยอาจจะทำการพัฒนาส่วนย่อย ๆ บางส่วนตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว
นำผลจากการศึกษาในช่วงนี้ไปปรับปรุงแผนการทดลองที่ออกแบบไว้ในครั้งแรกให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
3.6
เสนอเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์ต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข
เพื่อให้การวางแผนและดำเนินการทำโครงงานเป็นไปอย่างเหมาะสมเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
4. การลงมือทำโครงงาน🤘
เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว
ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง
ขั้นตอนต่อไปเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ เช่น
จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม
รวมทั้งการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่มให้ชัดเจน
แล้วจึงดำเนินการทำโครงงาน ขณะเดียวกันต้องมีการทดสอบ ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข
เพื่อพัฒนาโครงงานเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้น
ทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย
และเกิดประสิทธิภาพตามขั้นตอน
5. เขียนรายงานและจัดทำคู่มือการใช้✋การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจแนวคิด
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
เกี่ยวกับโครงงาน ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ
และตรงไปตรงมา และส่วนสุดท้ายเป็นคู่มือการใช้งานโครงงาน
·
บรรณานุกรม
รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสารเอกสารและ /หรือเว็บไซต์ ที่ผู้จัดทำโครงงานใช้ศึกษา
ค้นคว้ารายละเอียด ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงาน
ทั้งนี้เขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
·
คู่มือการใช้งาน
เป็นคู่มืออธิบายวิธีการใช้งานผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผลงาน
คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะใช้กับผลงานนั้นได้ (ถ้ามี)
รายละเอียดของคอมพิวเตอร์
ต้องมีรายชื่อซอฟต์แวร์
ผลงานนั้นทำหน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลเข้า และส่งอะไรออกมาเป็นข้อมูลออก
วิธีการใช้งาน ควรอธิบายขั้นตอนตามลำดับการทำงาน ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย
ข้อแนะนำการใช้งาน สามารถแยกออกจากรายงานหรือใส่ใว้ในภาคผนวกของรายงานก็ได้
แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้จัดทำ
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน👐
โดยทั่วไปเมื่อโครงงานเสร็จสิ้นแล้ว
ต้องมีการนำเสนอโครงงานให้กับผู้ที่ต้องการใช้งานหรือครูที่ปรึกษาโครงงาน
ดังนั้นควรเตรียมเอกสารนำเสนอให้สมบูรณ์
โดยอาจปรับย่อข้อความที่สำคัญมาจากการรายงานก็ได้
การนำเสนอในรูปแบบใดนั้นต้องเลือกให้เหมาะสมโดยพิจารณาวัตถุประสงค์ของงานนำเสนอ
ชื่อ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ป้ายนิทรรศการ เอกสารรายงาน แผ่นพับ
นอกจากนี้ยังต้องวางแผนในการนำเสนอและสาธิตโครงงาน
และควรฝึกตอบคำถามที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย